970 views
จุดเริ่มต้น dek dee ยอดฮิต 31 ธันวาคม 2542 เป็นคืนที่ผู้คนทั่วโลกต่างลุ้นระทึกว่า เหตุการณ์ Y2K จะส่งผลกระทบกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างไร แต่กลุ่มคนที่ดูจะลุ้นหนักเป็นพิเศษ คงหนีไม่พ้นเด็กหนุ่ม 4 คน จากรั้วสวนกุหลาบวิทยาลัย เพราะนั่นคือคืนแรกที่เว็บไซต์ของพวกเขาปรากฏตัวบนโลกอินเทอร์เน็ต
เกือบ 2 ทศวรรษแล้วที่เด็กไทยทั่วประเทศเติบโตมาพร้อมกับเว็บไซต์ dekdee.com หลายคนใช้ที่นี่ตรวจผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย บางคนเริ่มต้นเขียนไดอารี เขียนนิยายของตัวเองที่นี่ และอีกไม่น้อยใช้เด็กดีเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างวัย ต่างโรงเรียน บางคนพบรักถึงขั้นแต่งงานกันก็มี
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของผู้คน เว็บไซต์มากมายที่เริ่มต้นพร้อมกันต่างล้มหายตายจากไปเกือบหมด แต่เด็กดีกลับยังคงเดินหน้าและเป็นศูนย์กลางของวัยรุ่นไทยไม่เปลี่ยนแปลง ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ถือโอกาสชักชวน 2 ผู้ก่อตั้ง โน้ต-วโรรส โรจนะ และ ปอล-ณปสก สันติสุนทรกุล มาร่วมพูดคุยถึงจุดเริ่มต้น พัฒนาการ ตลอดจนก้าวต่อไปของชุมชนออนไลน์แห่งนี้ ในวันที่ Dek-D อายุใกล้ครบรอบ 20 ปี และกำลังเติบโตไปไกลกว่าเพียงเว็บไซต์แห่งหนึ่งเท่านั้น ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ถือโอกาสชักชวน 2 ผู้ก่อตั้ง โน้ต-วโรรส โรจนะ และ ปอล-ณปสก สันติสุนทรกุล มาร่วมพูดคุยถึงจุดเริ่มต้น พัฒนาการ ตลอดจนก้าวต่อไปของชุมชนออนไลน์แห่งนี้ ในวันที่ Dek-D อายุใกล้ครบรอบ 20 ปี และกำลังเติบโตไปไกลกว่าเพียงเว็บไซต์แห่งหนึ่งเท่านั้น
ตอนนั้นมีเว็บ Pantip เพิ่งเกิดเหมือนกัน แต่ว่าพอเข้าไปแล้วมันเป็นอารมณ์แบบผู้ใหญ่ เช่น เรียนกวดวิชาที่ไหนดี ซึ่งคำตอบที่ได้คือ ทำไมต้องเรียนกวดวิชาด้วย ทำไมไม่ตั้งใจเรียนในห้องเรียน เปลืองเงินพ่อแม่นะ เราก็เลยคิดว่าน่าจะทำเว็บไซต์ให้วัยรุ่นได้เข้ามาคุยกันโดยเฉพาะ” ปอลเท้าความ
สมัยนั้นการทำเว็บไซต์เป็นเรื่องใหม่มาก ห้องสมุดมีหนังสืออยู่เล่มเดียว และทั้งทีมมีเพียงปอลเท่านั้นที่มีประสบการณ์ออกแบบหน้าเว็บมาบ้าง ทำให้ตลอดภาคเรียนที่ 1 พวกเขาต้องขวนขวายหาตำรามาอ่าน ลงเรียนคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม พอถึงปิดเทอมก็นัดเจอกันที่บ้านโน้ต เพื่อมาทำเว็บไซต์
ทั้ง 4 แบ่งหน้าที่กัน ปอลดูเรื่องดีไซน์ เต้และแชร์ดูแลการเขียนโปรแกรม ส่วนโน้ตที่ยังเขียนโปรแกรมไม่ได้ ดีไซน์ไม่เป็น จึงอาสารับดูแลเนื้อหาในเว็บทั้งหมด
เดิมทีตั้งเป้าอยากให้เว็บเปิดตัววันแรกของภาคเรียนที่ 2 แต่เอาเข้าจริงกว่าเว็บจะเสร็จสมบูรณ์ก็ล่วงเลยถึงสิ้นปีพอดี ซึ่งเป็นวันที่ทั่วโลกหวาดหวั่นกับปัญหา Y2K
“คืนนั้นพวกเราก็นั่งลุ้นกันนะ แต่คิดว่ามันรอมานาน ไม่อยากรออีกแล้ว ก็เลยเปิดเลย สุดท้ายมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งโลก” โน้ตเล่าแล้วหัวเราะ
เว็บไซต์น้องใหม่มีชื่อง่ายๆ ว่า ‘เด็กดี’ มีความหมายตรงตัวถึงเว็บไซต์เพื่อเด็ก ที่นำเสนอเรื่องดีๆ
“สิ่งที่อยากจะทำตั้งแต่แรกไม่ได้เกี่ยวกับเด็กดีหรอก เราอยากทำเว็บเกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นมากกว่า แต่ว่าชื่อเด็กดีเพราะมีเพื่อนคนหนึ่งเสนอขึ้นมา แล้วเรารู้สึกโอ้โห! มันตรงมาก เพื่อนทุกคนตกลง ไม่ต้องโหวตอะไรเลย” โน้ตเล่าถึงชื่อไทยง่ายๆ ที่เอาชนะชื่อเท่ๆ อย่าง Generation X, Millennium, Thaichildren, Thaiteen หรือ Teenager มาได้ ตอนแรกทีมอยากใช้ชื่อโดเมนว่า Dekdee.com แต่วันนั้นมีคนจองไปแล้ว เลยบิดไปใช้ Dek-D.com แทน และใช้ชื่อนี้จนมาถึงปัจจุบัน
ส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในกลุ่มเพื่อนสวนกุหลาบนั่นเอง เนื้อหาในเว็บ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เว็บบอร์ด คุยสารพัดเรื่องของเด็กวัยรุ่น ทั้งการเรียน เที่ยว หรือแม้แต่เรื่องความรัก กับบทความซึ่งเน้นหนักด้านการศึกษาตามสไตล์เด็กเรียน เช่น เทคนิคการทำโจทย์ฟิสิกส์ วิธีพิชิตสมการภาคตัดกรวย Word 2000 หรืออะไรใหม่ๆ ที่คุณอยากรู้
แต่เพื่อสร้างความหลากหลาย เลยมีการระดมเพื่อนมาช่วยเขียนเพิ่มเติม จนเกิดเรื่องสนุกๆ อย่างประสบการณ์อกหัก รักครั้งแรกขึ้นมา กลายเป็นกระแสปากต่อปากไปยังเด็กโรงเรียนอื่นด้วย นอกจากนี้ครูฝ่ายประชาสัมพันธ์ อาจารย์พรศิริ ทองพันธุ์ ยังสนับสนุนเต็มที่ด้วยการสัมภาษณ์ทั้ง 4 หนุ่มลงสารสวนกุหลาบ ฉบับวันสถาปนาโรงเรียน 8 มีนาคม 2543 รวมทั้งแนะนำเว็บให้รายการโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ ทำให้เว็บเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญจริงๆ ที่ทำให้เว็บเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงแรก เกิดจากไอเดียของปอลที่อยากรวมลิงก์เว็บบอร์ดของโรงเรียนต่างๆ ไว้ด้วยกัน เพราะยุคนั้น URL ของแต่ละบอร์ดนั้นยาวมากจนไม่มีใครอยากจำ แม้ตอนแรกกังวลกันว่าจะเป็นแค่ทางผ่าน ไม่มีใครมาใช้เว็บบอร์ดของ Dek-D แต่สุดท้ายแล้วก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะทุกคนต้องแวะมาที่นี่ก่อนเสมอ
“สมัยก่อนพวกเว็บท่า อย่าง Sanook หรือ Hunsa ดังมาก เราก็เลยคิดว่าทำไมไม่มีที่รวมบอร์ดโรงเรียนบ้าง ซึ่งจริงๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร แค่เอามารวมกันเท่านั้นเอง เริ่มแรกก็เป็นโรงเรียนในเครือจตุมิตร จากนั้นก็เริ่มมีคนส่งมาเพิ่มเป็นพันเลย บางทีก็มีบอร์ดรุ่น บอร์ดห้อง ซึ่งพอมารวมกันเยอะ ก็จะมีบางคนก็แวะไปดูบอร์ดของโรงเรียนอื่นด้วย แล้วหลายๆ ครั้ง มีคนเข้าใจผิดว่า เราเป็นคนสร้างให้ เช่นเวลามีกระทู้ทะเลาะกันภายในโรงเรียน เขาก็จะมาแบบ Dek-D จัดการให้หน่อย” ปอลอธิบาย
นับตั้งแต่นั้น Dek-D จึงกลายสะพานเชื่อมโยงเด็กนักเรียนทั่วประเทศ พอเข้ามาแล้วก็ได้อ่านเนื้อหา บทความ หรือกระทู้ต่างๆ ไปในตัว ทำให้ยอดผู้ใช้งานขยายจากหลักร้อยเป็นหลักพันหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่น ช่วงที่เริ่มมีชื่อเสียง คุณครูหลายคนสงสัยว่าเป็นเว็บอะไร ไม่น่าเกี่ยวกับการศึกษาเลยถูกบล็อก แต่พอนานๆ เข้าเหมือนได้พิสูจน์ตัวเอง ผู้คนจึงเริ่มยอมรับ
“ชื่อเด็กดีมีอิทธิพลทางจิตวิทยาสูงมาก ทุกคนที่เข้ามาโดยเฉพาะผู้ใหญ่ก็จะคาดหวังว่าต้องดีตามชื่อ และถ้ามีอะไรผิดจากคำว่าเด็กดี เราจะโดนตำหนิทันทีว่าไม่เห็นดีสมชื่อเลย หรือให้เปลี่ยนชื่อเว็บเป็นเด็กเลวแทนก็มี ถือเป็นความท้าทายของผมและทีมงานจนถึงทุกวันนี้” ปอลย้อนเหตุการณ์
อีกเรื่องหนึ่งที่หนักหน่วงไม่แพ้กันคือ ทำเว็บมา 1 ปีเต็มๆ ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าโดเมนปีละ 3,000 บาท ค่าโฮสติงเดือนละ 600 บาท รวมแล้วเฉลี่ยปีละ 10,000 บาท
แต่ด้วยความเสียดาย เพราะอุตส่าห์ลงแรงมาตั้งแต่ศูนย์ บวกกับได้เห็นเด็กๆ เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง มาพูดคุยเรื่องการบ้าน การเรียน บางคนมีปัญหาชีวิตก็เข้ามาปรึกษา ทำให้รู้สึกเสียดาย สุดท้ายเลยยอมเข้าเนื้อ ขอเพียงทุกคนรักเว็บนี้ก็พอใจแล้ว
กระทั่งเวลาผ่านไปปีกว่าถึงเริ่มมีโฆษณาติดต่อเข้ามา แม้ตัวเงินไม่มากแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า Dek-D ก็มีโอกาสเติบโตเช่นกัน
“โฆษณาชิ้นแรกเลยคือ Applied Physics ให้เดือนละ 2,500 บาท เพราะเหมือนเจ้าของเขาเปิดเว็บไซต์เหมือนกัน ก็เลยอยากหาช่องทางโปรโมต แล้วคงมีโอกาสคุยกับนักเรียนว่าส่วนใหญ่เข้าเว็บอะไร เด็กๆ ก็เลยแนะนำเว็บนี้ หลังจากนั้นก็เริ่มมีสถาบันอื่นติดต่อเข้ามาเรื่อยๆ”
หลังฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ก็ถึงช่วงเวลาที่ 4 หนุ่มต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย แม้มีภาระต้องรับผิดชอบหนักขึ้น แต่พวกเขาก็พยายามแบ่งเวลาเต็มที่ อย่างโน้ตอ่านหนังสือตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม และทำเว็บ 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน บางคืนยาวเลยไปถึงตี 2
เมษายน 2544 โน้ตกับเต้ สอบติดที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่ปอลเลือกเรียนด้านออกแบบที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ส่วนแชร์เบนเข็มไปเรียนต่อ Carnegie Mellon University สหรัฐอเมริกา แต่ทั้งหมดยังคงเดินหน้าทำเว็บร่วมกันต่อไป
“ถึงจะแยกกันก็ทำงานด้วยกันได้ เพราะมีระบบออนไลน์ แชตหากันได้ แล้วพอคนใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็เสียดาย ไม่อยากหยุด เพราะไม่ได้เป็นภาระอะไรมากมาย พอเรียนเสร็จก็กลับบ้านไปทำเว็บต่อ
“ส่วนสิ่งที่ยากคงเป็นเรื่องเทคนิค เพราะสมัยนั้นข้อมูลน้อย ไม่มีหนังสือที่บอกว่าทำยังไงให้เว็บสามารถรับคนเข้าวันละหมื่นได้ ถ้าคนใช้เยอะก็ต้องรีบูตเครื่อง เราสแตนบายตลอด แต่ถ้าล่มช่วงที่เรียนอยู่ ก็ต้องใช้ Microsoft Pocket PC เข้ามารีบูต หรือบางทีก็ส่งอีเมลแจ้ง Data Center ให้ช่วยรีบูตให้ ช่วงแรกๆ เว็บก็จะล่มบ่อยหน่อย” โน้ตฉายภาพอดีต
หลังเรียนจบ ปอลซึ่งมองเห็นช่องทางการตลาด โดยเฉพาะจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นทุกปี ก็เลยมานั่งจับเข่าคุยกับเพื่อนๆ ว่าอาจถึงเวลาแล้วที่ต้องจริงจังกับเว็บ เต้กับโน้ตซึ่งเรียนจบก่อนปีหนึ่งและเริ่มทำงานประจำแล้ว ตัดสินใจลาออกเพื่อมาทำออฟฟิศร่วมกัน ส่วนแชร์ถึงไม่ได้มาทำงานด้วย เพราะเลือกต่อปริญญาโทที่เดิม แต่ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่เปลี่ยนแปลง
“ผมคิดว่าเราอยู่ในช่วงที่ทดลองได้ เพราะยังเป็นเด็กอยู่ แล้วตอนที่ปอลชวน เราเห็นถึงศักยภาพของเว็บจริงๆ ซึ่งถ้าลองแล้วเกิดไม่เวิร์กก็แค่เลิก กลับไปสมัครงานใหม่” โน้ตกล่าว
อ่านเพิ่มเติม วิธีสมัคร Gmail วิธีสมัคร Google Play คืออะไร? การสร้างแพลตฟอร์ม Mello Jokergame Joker Gamimg pg slot สล็อต slot
Last Update : 14 พฤษภาคม 2021