หน้าหลัก บทความทั่วไป

การอ่านและสัญลักษณ์อากาศ

3097 views

การอ่านและสัญลักษณ์อากาศ

การอ่านและสัญลักษณ์อากาศ

การอ่านและสัญลักษณ์อากาศ การอ่านและสัญลักษณ์ภายในแผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ

  1. สัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ ได้แก่
    1.1. L ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นบริเวณที่อากาศร้อนยกตัวทำให้เกิดเมฆ
    1.2. H ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศสูง เป็นบริเวณที่อากาศเย็นแห้งแล้ว ฟ้าใส ไม่มีเมฆปกคลุม
    1.3. เส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นเส้นโค้งที่ลากเชื่อมต่อบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน มีตัวเลขแสดงค่าความกด
    อากาศซึ่งมีหน่วยเป็น เฮคโตปาสคาล (hPa) กำกับไว้ความเร็วลม ขึ้นกับความแตกต่างของความกดอากาศใน
    แนวราบ (Horizontal Presure gradient) ถ้าระยะห่างระหว่าง Isobar น้อยจะทำให้เกิดความเร็วลมมาก ถ้า
    ห่างความเร็วลมจะต่ำภาพแผนที่อากาศของวันที่22 มีนามคม 2562 มีความกดอากาศสูงอยู่เหนือทางตอน
    เหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ความกดอากาศ 1012-1028 hPa อากาศเย็น) และระหว่าง
    เส้น Isobar มีความชิดกันมาก ส่วนบริเวณของประเทศไทย มีความกดอากาศต่ำ(1008 hPa อากาศร้อน)
    ความแตกต่างของความกดอากาศ 2 บริเวณที่แตกต่างกันมากทำให้เกิดลมแรงเกิดพายุฤดูร้อนในเขตภาคเหนือ
    และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอากาศร้อนบริเวณของประเทศไทย จะลอยสูงขึ้นกระทบกับความเย็นเบื ้อง
    บนควบแน่น เป็นเมฆตกลงมาเป็นฝน
    1.4. แนวปะทะอากาศ (Front) เส้นอาร์คหนาทึบสีแดงมีเครื่องหมายวงกลม คือ แนวปะทะอากาศร้อน เส้นอาร์ค
    หนาทึบสีน้ำเงินมีลิ่มสามเหลี่ยม คือ แนวปะทะอากาศเย็น เมื่อแนวปะทะทั้งสองชนกันจะทำให้เกิดฝนตก
  2. ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศภาคพืน้ แสดงโดยสัญลักษณ์ดังตัวอย่างในภาพที่ 2 ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้

2.1. วงกลม แสดงปริมาณเมฆปกคลุมเหนือสถานี สีขาว: ไม่มีเมฆ สีดำ : เมฆมาก
2.2. ลูกศร แสดงทิศทางลมที่พัดเข้าหาสถานี ขีดฉากที่ปลายลูกศรแสดงความเร็วลม ขีดยิ่งมาก ลมยิ่งแรง
2.3. ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านบน เป็นตัวเลขสามหลัก หมายถึง ตัวเลขท้ายสอง
หลักและทศนิยมหนึ่งหลัก (107 หมายถึง 1010.7 hPa)
2.4. แนวโน้มของความกดอากาศเปรียบเทียบกับ 3 ชั่วโมงที่แล้ว แสดงด้วยตัวเลขทางด้านขวามือมีหน่วยเป็น hPa
ค่า + หมายถึงความกดอากาศสูงขึ้น, ค่า – หมายถึงความกดอากาศต่ำลง
2.5. อุณหภูมิจุดน้ำค้าง แสดงด้วยตัวเลขซ้ายมือด้านล่าง
2.6. ลักษณะอากาศ แสดงด้่วยสัญลักษณ์อุตุนิยมวิทยาทางด้านขวามือ
2.7. อุณหภูมิอากาศ แสดงด้วยตัวเลขด้านซ้ายบน

ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้น แสดงโดยสัญลักษณ์ดังตัวอย่างในภาพที่ 2 ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้ 

  1. วงกลม แสดงปริมาณเมฆปกคลุมเหนือสถานี สีขาว: ไม่มีเมฆ สีดำ: เมฆมาก
  2. ลูกศร แสดงทิศทางลมที่พัดเข้าหาสถานี ขีดฉากที่ปลายลูกศรแสดงความเร็วลม ขีดยิ่งมาก ลมยิ่งแรง 
  3. ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านบน เป็นตัวเลขสามหลัก หมายถึง ตัวเลขท้ายสองหลักและทศนิยมหนึ่งหลัก (107 หมายถึง 1010.7 hPa) 
  4. แนวโน้มของความกดอากาศเปรียบเทียบกับ 3 ชั่วโมงที่แล้ว แสดงด้วยตัวเลขทางด้านขวามือมีหน่วยเป็น hPa ค่า + หมายถึงความกดอากาศสูงขึ้น, ค่า – หมายถึงความกดอากาศต่ำลง 
  5. อุณหภูมิจุดน้ำค้าง แสดงด้วยตัวเลขซ้ายมือด้านล่าง 
  6. ลักษณะอากาศ แสดงด้่วยสัญลักษณ์อุตุนิยมวิทยาทางด้านขวามือ
  7. อุณหภูมิอากาศ แสดงด้วยตัวเลขด้านซ้ายบน

แนวปะทะอากาศแนวปะทะอากาส คือ บริเวณที่มวลอากาศเย็นและอุ่นเคลื่อนที่เข้ามาปะทะกัน หลังจากปะทะกันจะมีการเปลี่ยนทิศทางลม ความกดอากาศ ความชื้น และทำให้เกิดฝนตก หรือพายุได้ มี 4 แบบคือ

  1. แนวปะทะอากาศเย็น (cold front) เกิดจากมวลอากาศเย็นเข้าไปแทนที่มวลอากาศอุ่น โดยยกมวลอากาศอุ่นขึ้นบนแบบ ปกติมวลอากาศร้อนจะพา เอาความชื้นมาด้วย มวลอากาศร้อนเมื่อถูกยกตัวขึ้นบนสัมผัสกับความเย็นด้านบนก็จะควบแน่นเป็นเมฆฝน หรือ Cumulonimbus ทำให้เกิดฝนตก ฟ้าร้องและพายุในพื้นที่แนวปะทะ และเรียกแนวปะทะนี้ว่า แนวพายุฝน (Squall line) แนวปะทะอากาศร้อน (Warm front) แนวปะทะอากาศอุ่น (Warm front) มวลอากาศอุ่นเคลื่อนไปปะทะมวลอากาศเย็น มวลอากาศร้อนจะเคลื่อนไปอยู่ด้านบนของมวลอากาศเย็น ที่หนักกว่า โดยความชันของ warm front จะน้อยกว่า ทำให้เกิดเมฆได้หลายรูปแบบได้แก่ Nimbostratus,Stratus,Altostratus,Cirrostratus,Cirrus ทำให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary front) เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นและมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้าหากัน แค่ไม่มีการเคลื่อนที่เข้าแทนที่กัน และสภาพอากาศเหมือนกับแนวปะทะอากาศอุ่น ถ้าแรงผลักดันเท่ากัน แนวปะทะถูกยันไว้ทำให้ไม่เคลื่อนที่ไป ทำให้ฝนตกในพื้นที่นั้นเป็นเวลานา ปริมาณฝนตกสะสมในพื้นที่มากจนเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นได้ แนวปะทะอากาศซ้อน (Occluded Front) เมื่อแนวปะทะอากาศเย็น เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับมวลอากาศอุ่น และเคลื่อนที่เร็วกว่าจึงตามทันมวลอากาศอุ่น และยกมวลอากาศอุ่นระหว่างกลางขึ้น ทำให้เกิดเมฆ Cumulonibus (Cb) และเกิดฝนได้

ความกดอากาศความกดอากาศ คือแรงกดต่อหน่วยพื้นที่ ถ้าในระบบเดิมจะมีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าเป็นระบบ SI จะมีหน่วยเป็น นิวตัน/ตรม. หรือ Pascal ความกดอากาศจะแปรผันตามจำนวนโมเลกุลของอากาศ (ปริมาณโมเลกุลของอากาศ เพิ่มขึ้นโดยปริมาตรเท่าเดิม ความกดอากาศจะเพิ่มขึ้น) แต่จะแปรผกผัน กับปริมาตร (ปริมาตรมาก แต่โมเลกุลเท่าเดิม ความกดอากาศจะลดลง) กรณีที่จำนวนโมเลกุลเท่าเดิม แต่อุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานความร้อน จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ทำให้โมเลกุลของอากาศเคลื่อนที่มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาตรมากขึ้น โดยที่ความกดอากาศเท่าเดิม กรณีที่เพิ่มจำนวนของโมเลกุลของอากาศโดยที่ปริมาตรเท่าเดิม จะทำให้โมเลกุลชนกันมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิ เพิ่มขึ้น ถ้าลดจำนวนโมเลกุล ของอากาศลงโดยปริมาตรคงที่ โมเลกุลจะชนกันน้อยลง อุณหภูมิจะลดลง

การเคลื่อนที่ของอากาศภาวะ ความกดดันที่แตกต่างกัน

ภาวะความกดอากาศสูง อากาศเย็นจะจมลง โดยจะไหลไปสู่ไปในที่ที่ความกดอากาศต่ำทุกทิศทาง เนื่องจากแรงเฉ ทำให้การเคลื่อนที่เฉไปทางขวาทางซีกโลกเหนือ เกิดการหมุนแบบตามเข็มนาฬิกา

ภาวะความกดอากาศต่ำ อากาศร้อนจะทำให้อากาศลอยตัวขึ้น ความกดอากาศสูงโดยรอบจะเคลื่อนเข้ามาmทุกทิศทุกทาง เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เกิดแรงเฉ (Coriolis force) ทำให้การเคลื่อนที่ เฉไปทางขวาในซีกโลกเหนือทำให้ เกิดการหมุนแบบทวนเข็มนาฬิกา ความกดอากาศต่ำจะทำให้เกิดฝนตก เนื่องจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้นเบื้องบนกระทบกับความเย็นที่อยู่เบื้องบน จึงควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็กเป็นเมฆ ถ้ารวมกันหนักขึ้นก็จะตกลงมาเป็นฝน

ความหมายของแผนที่อาการการเขียนแผนที่อากาศ
การเขียนแผนที่ คือ การนำข้อมูลผลการตรวจอากาศ เขียนลงบนแผนที่อากาศตามแบบที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
กำหนดขึ้น โดยเขียนเป็นตัวเลขและสัญลักษณ์ตามตำแหน่งต่างๆตัวเลขและสัญลักษณ์เหล่านี้จะเขียนบนแผนที่อากาศ
ตรงสถานีบริเวณ ที่มีการตรวจอากาศ แสดงสภาวะของลมฟ้าอากาศ ที่สถานีตรวจอากาศตั้งอยู่แผนที่อากาศเหล่านี ้แบ่ง
ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ แผนที่อากาศผิวพื้นและแผนที่อากาศชั้นบน นอกจากนี้ยังสามารถ แยกย่อยออกเป็นแต่ละ
รายละเอียดได้อีก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานในแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้พัฒนาโดยใช้เครื่องมือที่
ทันสมัยมาช่วยผลิตแผนที่อากาศชนิดต่าง

อ่านเพิ่มเติม หนังเรื่องขุนบันลือ เรื่องย่อ apex คือเกมอะไร วิธีเล่น 10 ข้อ ใครทำ IG ห้ามพลาด slot แจกฟรีไม่ต้องฝาก 2021  ประวัติความเป็นมาของ แอร์เอเชีย แปล 15 ประโยคฉันรักคุณ  iCloud คือ อะไรหลักการใช้งาน จุดเริ่มต้น dek dee ยอดฮิต วิธีสมัคร Gmail วิธีสมัคร Google Play คืออะไร?  การสร้างแพลตฟอร์ม Mello Jokergame Joker Gamimg pg slot สล็อต slot

Last Update : 29 พฤษภาคม 2021